Last updated: 22 มิ.ย. 2564 | 5090 จำนวนผู้เข้าชม |
ถังตกตะกอนแบบดั้งเดิม(Conventional Clarifier Tank) มีโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่และใช้พื้นที่หรือความลึกมาก ทำให้ต้องลงทุนในการก่อสร้างที่สูง จึงมีผู้ที่คิดค้นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการตกตะกอน ทำให้ถังตกตะกอนมีขนาดเล็กลงและลดความลึกถัง โดยใส่แผ่นเอียงช่วยตกตะกอน (Inclined Tube Settler) เรียกถังตกตะกอนชนิดนี้ว่า Lamella Pulsator Clarifier Tank ดังนั้นจึงอาจเรียกแผ่นช่วยตกตะกอนว่า Lamella Module
แผ่นช่วยตกตะกอน ผลิตจากวัสดุ Rigid PVC ขึ้นรูปด้วยความร้อนแบบสูญญากาศ (Vacuum Thermoforming) แล้วนำมาประกอบเป็นชุด มีลักษณะท่อรูปทรงแปดเหลี่ยม (คล้ายรังผึ้ง) เอียงทำมุม 60 องศากับแนวระนาบ เพื่อสร้างพื้นที่การตกตะกอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น น้ำที่มีส่วนผสมของตะกอนจะไหลเข้าสู่ช่องทางน้ำเข้าและถูกบังคับให้ไหลย้อนขึ้นผ่านแผ่นช่วยตกตะกอน ซึ่งจะมีความหนืดสูงขึ้นโดยกำหนดเวลาของช่วงอัตราการไหลช้าๆ ตะกอนจะรวมตัวเป็นผลึกยึดเกาะบนแผ่นช่วยตกตะกอนที่เป็นแผ่นพลาสติกผิวเรียบ และเมื่อน้ำหนักของตะกอนมากขึ้น ก็จะไหลตกลงตามแรงโน้มถ่วงจมลงไปสู่ก้นถัง ไม่ค้างอยู่ในแผ่น โดยน้ำใสจะไหลออกไปยังช่องทางน้ำออกด้านบน
ประโยชน์การใช้แผ่นช่วยตกตะกอน
1. เพิ่มพื้นที่ผิวการตกตะกอน หรืออัตราการไหลล้นของพื้นผิว (Surface Overflow Rate)
2. ลดเวลาการกักเก็บในถังตกตะกอน (Hydraulic Detention Time)
3. เพิ่มปริมาณน้ำเข้าระบบได้มากขึ้น 2-3 เท่า ทำให้สามารถปรับปรุงถังตกตะกอนเก่า โดยไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่
4. ลดขนาดถังตกตะกอนได้ ลดการใช้พื้นที่ ทำให้ลดต้นทุนในการก่อสร้าง
5. ลดปัญหา ภาระบรรทุกของน้ำมากกว่าค่าสูงสุดที่ออกแบบ (Hydraulic Over /Peak Loading )
6. ลดภาระของระบบกรองและสารเคมีช่วยตกตะกอน(สารส้ม, Coagulant Aid)
7. ช่วยลดค่าความขุ่น(Turbidity) และ COD ทำให้นำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ ลดการใช้น้ำได้
การนำไปใช้งาน
1. ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำประปา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตกตะกอนในถังตกตะกอน(Water Clarifier Tank)
2. ใช้ในถังตกตะกอนแรก (Primary Sedimentation Tank) ช่วยแยกตะกอนแขวนลอยออกจากน้ำเสีย ก่อนไหลไปถังบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีชีวภาพ(ไร้ออกซิเจน)
3. ใช้ในถังตกตะกอนที่สอง (Secondary Sedimentation Tank) แยกตะกอนชีวภาพหรือตะกอนเคมี ออกจากน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว เพื่อให้ได้น้ำที่ใสไหลออกภายนอกหรือนำกลับไปใช้ใหม่
4. ช่วยตกตะกอนในอุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษ
5. นำน้ำในกระบวนการล้างในอุตสาหกรรมอาหารมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เช่น ล้างอ้อย มัน
ทำไมใช้แผ่นช่วยตกตะกอนของ SC Media
1. ประกอบเชื่อมแผ่นพลาสติกด้วยอัลตร้าโซนิค ซึ่งเป็นการเชื่อมติดในระดับโมเลกุล ทนแรงดึงได้มากกว่าการเชื่อมด้วยความร้อนและกาวต่างๆ
2. ใช้แผ่นพลาสติกขึ้นรูปด้วยความร้อนแบบสุญญากาศที่มีความหนา 0.8 ม.ม. มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก
3. สามารถสั่งผลิตขนาดได้ตามต้องการ ที่เหมาะกับขนาดบ่อที่ใช้งาน น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย
4. ให้คำปรึกษา แนะนำ การเลือกใช้ และมีรายการคำนวณพื้นที่ผิวเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบ
- รุ่น TSR75 มีพื้นที่ผิวตกตะกอน 16 ตร.ม./ ลบ.ม. เหมาะสำหรับระบบผลิตน้ำประปา
- รุ่น TSR47 มีพื้นที่ผิวตกตะกอน 11 ตร.ม./ ลบ.ม. เหมาะสำหรับระบบบำบัดน้ำเสีย
รหัสสินค้า (Part No.) | TSR47 |
วัสดุ (Material) | Rigid Polyvinyl Chloride 0.80 mm |
การขึ้นรูป (Forming) | Vacuum Thermoforming เชื่อมประกอบด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค |
พื้นที่ตกตะกอน (Surface Area) | 11 sqm. / cu.m. |
ช่องว่าง (Void Ratio) | 97 % |
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) | 1.05 - 1.36 |
ความลาดเอียง (Slope) | 60 degree |
รูปทรงและช่องห่าง (Shape & Pitch) | Hexagonal Cell 10 - 10 cm |
ขนาดมาตรฐาน (Dimension, W x L x H) | 50W x 100L x 50H & 50W x 100L x 100H cm. |
จำนวนชั้น (Layers) | 20 |
น้ำหนัก (Weight) | 24 kg. / cu.m. |
รหัสสินค้า (Part No.) | TSR75 |
วัสดุ (Material) | Rigid Polyvinyl Chloride 0.80 mm |
การขึ้นรูป (Forming) | Vacuum Thermoforming เชื่อมประกอบด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค |
พื้นที่ตกตะกอน (Surface Area) | 16 sqm. / cu.m. |
ช่องว่าง (Void Ratio) | 97 % |
ความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) | 1.05 - 1.36 |
ความลาดเอียง (Slope) | 60 degree |
รูปทรงและช่องห่าง (Shape & Pitch) | Hexagonal Cell 6 - 8 cm. |
ขนาดมาตรฐาน (Dimension, W x L x H) | 55W x 100L x 60H & 55W x 100L x 85H cm |
จำนวนชั้น (Layers) | 28 |
น้ำหนัก (Weight) | 34 kg. / cu.m. |
4 มี.ค. 2564
4 มี.ค. 2564
4 มี.ค. 2564